ผู้นำที่ดี เทวดา หรือปีศาจ ? #knowledgeshare

ไหนๆ ก็มาตั้งกระทู้แล้ว วันนี้ผมมีซักหนึ่งเรื่องอยากมาแลกเปลี่ยนกับทุกๆท่าน กันครับ ประเด็นที่อยากเล่าคือ “ผู้นำควรจะต้องเป็นปีศาจหรือนางฟ้ากันแน่” (leaders (management) should be devils or angels.)

หากท่านมีความเห็นอย่างไร สามารถที่จะแชร์ได้ในช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างเลยนะครับ
เอาล่ะครับ ก่อนอื่นผมต้องบอกว่า ผมเองเชื่อว่าผู้นำที่ดีอย่างแท้จริงต้องมีความสามารถในการเป็นปีศาจ แต่ผมไม่ได้บอกว่าคุณต้องเล่นบทเป็นปีศาจตลอดเวลาหรอกนะครับ แต่ถ้าหากว่าคุณอยากมีทีมที่แข็งแกร่งแล้วล่ะก็คุณสมบัติข้อนี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย

ผู้คนไม่ได้เปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆในชั่วข้ามคืนขนาดนั้น เมื่อคุณมองกลับไปที่ทีมงานของคุณเองก็อาจพบว่ามีบางคนที่คุณแทบที่จะอยากให้เขาปรับพฤติกรรมแบบทันด่วนเสียจริงๆ คุณไม่อยากให้เขาเป็นแบบนั้นเลย แม้แค่อีกเพียงวันเดียว

แต่แล้วคุณก็นึกขึ้นได้ว่าแค่เพียงมีความคิดแบบนี้ไม่อาจเปลี่ยนแปลงสิ่งใด หรือต่อให้พูดจาบอกอะไรไปแบบเบาๆก็คงไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง

ผมเลยเชื่อว่าคนเราจะเปลี่ยนได้เมื่อได้รับ Feedback ที่อาจดูโหดแต่ซื่อตรงจริงใจจากใครซักคน ถ้าคุณอยากจะเปลี่ยนใครซักคนในทีมของคุณ และคุณพบว่าไม่ว่าคุณจะบอกกล่าวไปกี่ครั้งกี่หน เขาก็ไม่เปลี่ยนซักที ไม่แน่ว่าอาจถึงเวลาที่คุณอาจต้องเริ่มใช้วิธีให้ Feedback แบบนี้ดูเสียแล้ว (การจะทำแบบนี้ได้คุณอาจจะต้องมีความสามารถในการสร้างบทสนทนาที่สร้างสรรค์ เป็นการติเพื่อก่อ ไม่ใช่แค่การพูดข้อเสียของอีกฝ่าย หรือตำหนิไปที่ตัวบุคคลหรือเป็นเพียงการปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึก)

ในหลายๆสถานการณ์มนุษย์ไม่ได้เข้มแข็งมากพอที่จะสังเกตเห็นและเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างได้ด้วยตัวเอง ผมเข้าใจว่ามนุษย์เราอยากจะเชื่อว่าสิ่งที่ตัวเองคิดและทำเป็นสิ่งที่ถูกอยู่เสมอ แต่เมื่อไหร่ที่ “มาตรฐานความถูกต้องของทีม” แตกต่างจากของสมาชิกในทีม ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งตรงนี้เองที่จะเป็นหน้าที่ของผู้นำที่จะต้องมาปรับ “มาตรฐานความถูกต้อง” นั้นอีกครั้งและอีกครั้ง

ทว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นเรื่องยากลำบากอย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อคุณเองอยากเป็นคนที่ดีในสายตาของทุกคนในทีม ผมเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ดี แต่ก็จะมีบางครั้งที่คุณจะต้องกลายร่างเป็น “ปีศาจ” บ้าง อย่างผมเองก็เป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ชอบที่จะให้ Feedback กับใครแบบตรงๆ ขนาดนั้น เพราะมันใช้พลังงานเยอะและทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน

แต่เมื่อมองในระยะยาวแล้ว ถ้าคุณไม่ได้ให้ Feedback ที่จริงใจและตรงไปตรงมาในตอนนี้ ในอนาคตพวกเขาอาจจะต้องผจญกับปัญหานี้อีกซ้ำแล้วซ้ำอีกในอนาคตที่ไหนซักแห่ง เช่นนั้นแล้วการยอมเป็นปีศาจร้ายในวันนี้ก็อาจหมายถึงการเป็นนางฟ้าได้เช่นกันเมื่อมองจากมุมนี้

แต่เมื่อมองในระยะยาวแล้ว หากคุณแคร์สมาชิคในทีมของคุณจริงๆ แล้วล่ะก็ การให้ Feedback ที่จริงใจและตรงไปตรงมา เพื่อให้พวกเขาได้เห็นอะไรในมุมใหม่ แม้บางครั้งมันอาจจะดูโหดร้าย แต่นั่นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่คุณควรจะทำ


Radical Candor – Kim Scott

แล้วคุณล่ะ คิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรครับ


 P.S.
ล่าสุดทางทีมงานของเราเพิ่งจะเปิดตัว  HR BOARD ชุมชนออนไลน์แห่งใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งรวมตัวของ HR ผู้จัดการ ผู้บริหาร และผู้ประกอบการต่างๆ ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนคำถาม-คำตอบ เพื่อให้ความรู้ ความคิด และประสบการณ์ของผู้คนในแวดวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลได้กระจายตัวและงอกเงยออกไปในวงกว้าง

ผมเองมีความเชื่อส่วนตัวว่าในโลกทุกวันนี้ พื้นที่ที่เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายทางความคิด หลากหลายมุมมอง ย่อมมีค่ามากกว่าพื้นที่ที่มีเพียงคำตอบสำเร็จรูปเพียงคำตอบเดียว

ถึงแม้ว่าคุณอาจจะรู้สึกว่าคำตอบหรือความคิดเห็นของคุณอาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็อย่าได้กังวลที่ที่จะแชร์มันออกมาเลยนะครับ
 
ผมหวังว่าพวกเราจะสามารถสร้างชุมชนที่ยิ่งใหญ่นี้ขึ้นมาด้วยกัน
 

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

1 คำตอบ

  • ความท้าทายของผู้นำในเรื่องของการให้ Feedback กับทีมงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงเป็นอะไรที่ท้าทายค่ะ เคยได้รับฟังมาจากเพื่อน ๆ ร่วมวิชาชีพเกี่ยวกับปัจจัยที่มีส่วนทำให้ในบางที่ทำงานไม่เกิดการให้ Feedback อย่างตรงไปตรงมา ได้แก่วัฒนธรรมของคนในประเทศนั้นๆ  วัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ หรือ Personal Values ของคนที่ให้และคนที่รับ Feedback แต่จากประสบการณ์ตรงที่มีร่วมกับทีมงานคิดว่า........จุดเริ่มต้นก่อนที่เราจะเป็นผู้นำที่เป็นนางฟ้าหรือเป็นปีศาจ เราจะต้องเป็น "คน" ที่ทีมงานไว้วางใจก่อนค่ะ ความไว้วางใจสร้างยาก ทำลายง่าย แต่ก็สั่งสมขึ้นมาได้ใหม่ (อีกครั้ง) เราไม่สามารถให้ Feedback (ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ) กับคนทึ่เขาไม่ Trust เราได้ เพราะนั่นจะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย (เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา)  แต่ถ้าเขา Trust เรา (มาก) พอแล้ว เราสามารถบอกให้เขารู้ถึง Good intention ของ Feedback และ Commitment ร่วมกันที่จะ Open and Listen ขั้นตอนที่ว่านี้ไม่ง่ายและไม่ได้ทำได้เร็ว สิ่งที่จะเป็นตัวช่วยคือ ความถี่และการเริ่มต้นเอาตัวเองเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ เช่น ขอ (Request) Feedback จากน้อง ๆ ในทีมงานเดือนละครั้ง ผ่านการกินข้าว เม้ามอย แรก ๆ ก็ไม่มีใครกล้า คิดว่าหัวหน้าสติไม่ดี อย่าเพิ่งท้อ ถามต่อไป ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ต้องถามอย่างจริงใจ ฟังอย่างเปิดรับ ไม่ defend ไม่ Excuse ไม่ Blame ทำแบบนี้เรื่อย ๆ จะทำให้เขารู้ว่า เขามี Freedom to speak what's right เมื่อถึงคราวที่เรา (หัวหน้า) เป็นฝ่ายให้ Feedback เขาบ้าง เขาจะฟัง

    ช่วงจังหวะการให้ Feedback จะให้แบบไหนดี ? ตรงไปก็เชือดเฉือน เบาไปก็ไม่ Get  โดยส่วนตัวจะเริ่มค้นหา style และเรียนรู้ความเป็นตัวตนของลูกน้องทุกคนเพื่อให้เราสามารถปรับวิธีการสื่อสารให้เหมาะกับเขาได้ ....(เอ๊ะแบบนี้ ก็ดูไม่จริงใจหรือเปล่า หรืออึดอัดไหมที่ต้องมานั่งปรับวิธีพูด วิธีสื่อสาร ) คำว่า"เหมาะสม" คือภาษาที่ใช้ ท่าที น้ำเสียงและภาษากาย แต่ content ไม่ปรับเพราะมันคือ Fact และ Fact ที่ว่านี้ก็ต้อง Evidence-Based จะช่วยทำให้ทั้งสองฝั่งไม่มีอคติต่อกัน

    Feedback ที่ให้ทีมงานหัวหน้าต้องใส่ใจ จดจำ ติดตาม เพราะคนเรามีขึ้น มีลงเปลี่ยนแปลงได้ตลอด อะไรที่เคยแนะนำแล้วเห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นแล้วก็ปรับไป Focus ในเรื่องอื่นๆ (เคยได้ยินใครบางคนบ่นว่า หัวหน้า Feedback แต่เรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ จำเจ)

    ถ้าบริษัทไหน หรือหัวหน้างานคนไหนมีระบบช่วยในการบันทึก Feedback ก็จะดีมาก แต่ส่วนตัวชอบจด Feedback ที่ให้ทีมงานแต่ละคนไปทุก ๆ 3 เดือนและก็จด Feedback ที่ทีมงานทุกคนให้เรากลับมาเช่นกัน  จากบันทึกนี้หากสะสมข้อมูลเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ  เราอาจจะเห็นวิวัฒนาการที่ของพนักงานคนหนึ่งที่จะเติบโตไปเป็นหัวหน้าที่ดีได้ 

    โดยสรุปคิดว่า หัวหน้าควรเป็นคนที่ผิดพลาดได้  ยอมรับในความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง รู้จักขอบคุณและขอโทษอย่างจริงใจ
    ไม่ว่าหัวหน้าจะเป็นนางฟ้าหรือซาตานก็จะมีผู้คนที่อยากรายล้อมรอบตัวพร้อมจะให้การสนับสนุนถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นหัวหน้า-ลูกน้องกันแล้วก็ตาม
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล