- ผู้อำนวยการ/ผู้บริหาร (Director/C-Level)
- ทรัพยากรมนุษย์/บุคคล
- งานขาย/งานจัดซื้อ
- 500~1,000 คน
ยังคงเป็นบริษัทขนาดกลางอยู่นะครับ ธุรกิจกำลังโตและพนักงานมีหลักร้อยคนแล้ว ตอนนี้เลยเริ่มรู้สึกว่าฝ่ยบุคคลควรจะต้องเริ่มคิดเรื่องการทำ Competency หรือตัวชี้วัดความสามารถหลักได้แล้วเพื่อเอามาพัฒนาประสิทธิภาพในการทำ recruiting และการทำ training ให้กับพนักงาน แต่ว่าลอง search ดูแล้วแต่ยังไม่ค่อยเจอที่อธิบายเรื่องการเตรียมข้อมูลเพื่อจะทำเลยครับ เข้าใจนะครับว่าเราอาจจะเริ่มจากการสกัดแก่นออกมาว่า High performer ที่เป็นพนักงานปัจจุบันมีคุณสมบัติอย่างไร เลยอยากได้ความเห็นว่าบริษัทอื่นๆมีกระบวนการทำอย่างไรบ้าง ตั้งแต่การเลือกกลุ่มที่จะเก็บข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
1 คำตอบ
- พร้อมทรัพย์ ซื่อสัตยวงศ์ Promsub Seosattayawong15 เมษายน 2021 12:58 น.สวัสดีครับ
ผมขออนุญาตพูดในอีกมุมนะครับ คืออาจจะไม่ได้ตอบคำถามโดยตรง แต่ในการคิดเรื่อง competency ในปัจจุบัน มีอีกแง่มุมที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วยก็คือ outcome ครับ
ซึ่งเดิมในบริบทของธุรกิจยุคเก่า ที่มีทิศทางชัดเจน กลยุทธ์นึงวางแผนที ใช้ได้หลายปี แต่ปัจจุบันในสภาวะ uncertainty นั้นทำให้ องค์กรเอง อาจต้องปรับเปลี่ยน business model หรือ strategy เร็วขึ้น นั่นหมายถึงความต้องการด้าน competency จึงเปลี่ยนแปลงได้
ดังนี้แล้ว ทั้งบริบทที่เปลี่ยนไวขึ้น ซึ่งย้อนกลับมาคิดถึงกลุ่มตัวอย่างของ top performer ที่ในอดีตนิยมทำกันนั้น อาจเป็น company oriented (ในกรณี top performer นี้ ยิ่ง scope ลงไปที่กลุ่มบุคคลยิ่งขึ้นไปอีก) ซึ่งหาก สภาพแวดล้อมเปลี่ยนอีก ซึ่งจริงอยู่ ก็อาจเป็น top performer นั่นแหละ ที่เป็นแกนเรื่องหลักในการผลักดัน หรือ เปลี่ยนแปลงความสามารถขององค์กร เพียงแต่ การเพิ่มมิติของ customer oriented เข้าไป ว่าลูกค้ามีความต้องการอะไร อะไรเป็น outcome ของลูกค้าที่องค์กรต้องการ contribute แล้วถอยกลับมาดูเรื่องความสามารถที่จำเป็นใน “ช่วงเวลาหนึ่งๆ” ซึ่งเมื่อวิธีการเปลี่ยน เกิดเครื่องมือใหม่ๆ เกิดข้อมูลใหม่ๆ ทำให้โลกธุรกิจ ไม่ได้หมุนอยู่บนความสามารถเฉพาะบุคคล แต่เป็นความสามารถขององค์กรที่จะเปลี่ยนแปลง ดัดแปลง แปลงสภาพ ให้ยังสามารถตอบโจทย์ และสร้าง outcome ให้กับลูกค้าได้ จากนั้นค่อยย่อยลงมาว่าจะให้องค์กรมีความสามารถแบบนั้นได้ จำเป็นต้องมี mindset, culture รวมถึง skillset ที่หลากหลายอย่างไรบ้าง โดยให้ efficiency เป็นเรื่องรองลงมา
แปลว่าในเชิงกลยุทธ์ องค์กรอาจไม่ได้ตอบโจทย์เชิงกลยุทธ์ของ specific goal ที่เป็น one future possibility แต่ความสามารถโดยรวมที่ปรับตัวได้ และมีความหลากหลาย จะช่วยให้องค์กรรองรับกับ many future possibility มากขึ้น
ก็เป็นความเห็นเชิง business model มากกว่า โครงสร้าง HR จ๋าเชิงระบบแบบเดิม แต่ก็ลองวิเคราะห์ ศึกษาเพิ่มเติมแล้ว apply ดูนะครับ
คิดเห็นอย่างไร หรือมีอัพเดทอะไร แลกเปลี่ยนกันได้นะครับ0ขอบคุณสำหรับข้อมูล
คุณเห็นด้วยกับนโยบายความเป็นส่วนตัว
และได้ศึกษาข้อตกลงในการใช้งานของ HR NOTE ก่อนเข้าใช้ระบบสมาชิก
มีบัญชีอยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบ