ขอคำแนะนำเกี่ยวกับ แผนการรักษาบุคลากรหรือ action plan turnover หน่อยค่ะ

ที่บริษัทอื่นๆ มีแผนการรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรอย่างไรบ้างคะ ทำแล้วให้ผลเป็นอย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่เราจะปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้พนักงานไม่ลาออก

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

3 คำตอบ

  • ณัฏฐวัฒน์ วัฒนธเนศ
    ณัฏฐวัฒน์ วัฒนธเนศ
    12 มีนาคม 2021 17:31 น.
    แผนการรักษาพนักงานเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เรียกได้ว่าลำดับต้นๆเลยของการบริหารงานทรัพยากรบุคคล โดยหลักการเชิงปฎิบัติจริงการของการรักษาให้พนักงานมี Length of serving ที่ยาวนานขึ้นนั้น ต้องเริ่มจากพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งจูงใจที่ทำให้พนักงานนั้นอยากอยู่กับเราไปนานๆ โดยทั่วไปได้แก่ 

    - Career Path สิ่งที่เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ โดยเฉพาะกับ Talent ในยุคมิลเลนเนียล เพราะพวกเขาต้องการการเรียนรู้ ประสบการณ์และการเติบโดอย่างก้าวกระโดด สิ่งง่ายๆที่เราสามารถทำให้ Career Path ชัดเจนได้นั้นก็คือต้องระบุไปในการประเมินผลงานเลยว่า ตำแหน่งนี้สามารถพัฒนาไปเป็นอะไรได้บ้าง มีความรับผิดชอบอะไรบ้าง และจะต้องมีหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อให้ไปถึงตำแหน่งนั้นได้อย่างไร เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และสร้างวัฒนธรรมแห่งความโปร่งใสในการประเมินผลงานอีกด้วย 

    - Culture หรือวัฒนธรรมขององค์กร รวมไปถึงวิธีการทำงาน หากบริษัทของเรายังไม่ได้ปรับตัวให้พร้อมรับกับ Workforce ในยุคนี้ที่เน้น Flexibility ที่สูงมากๆ HR ยังมีกฎหยุมหยิมเรื่องการขาด ลา มาสาย กลับก่อน และมองว่านั้นเป็นเรื่องใหญ่มากกว่าผลลัพธ์ที่พนักงานได้ส่งให้กับองค์กร หรือมีระบบ Hierachy ที่ซับซ้อน เจ้าขุนมูลนาย กว่าจะอนุมัตติอะไรสักทีก็ยากแสนยาก น่าจะสร้างความเบื่อหน่ายให้กับพนักงานได้ไม่น้อย คนเก่บๆในบริษัทของเราก็จะมองหาบริษัทที่ตอบรับกับการทำงานมากกว่า วิธีการง่ายๆก็คือเริ่มต้นให้พนักงานที่มีผลงานที่ดี ได้รับสิทธิ์ Work from home หรือ Work from anywhere, ปรับเวลาเข้าออกงานให้สอดคล้องกับงานแต่แผนกมากขึ้น, มอบ Reward ให้พนักงานที่ผลลัพธ์ยอดเยี่ยมประจำไตรมาสให้ได้ Workation ( Work+Vacation ) หรือปรับระบบการอนุมัติต่างๆให้รวดเร็วหรือง่ายขึ้น 

    - ผลตอบแทน ซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องโบนัสประจำปี หรืออัตราการเพิ่มเงินเดือนที่มากขึ้น แต่อาจจะหมายถึงสวัสดิการพื้นฐานที่ทุกบริษัทให้ที่สมเหตุสมผล สะท้อนความเป็นจริง เช่นค่าเดินทางสำหรับเซลล์ที่หลายบริษัทให้เป็นอัตราเหมาจ่ายแทนที่จะสะท้อนการใช้งานที่แท้จริง รวมถึงการสรรหาสวัสดิการใหม่ๆที่สร้างประสบการณ์ให้กับพนักงาน 

    - Working Environment อันนี้ถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับ HR ที่จะสร้างบรรยากาศของการทำงานที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งนั้นหมายถึง บรรยากาศทั่วไปในสถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงาน และที่สำคัญก็คือหัวหน้า เอชอาร์ทั้งหลายน่าจะเคยเจอปัญหาพนักงานลาออกเพราะหัวหน้ามาแล้ว และไม่ใช่เคสเดียวแน่นอน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและอาศัยเวลาในการจัดการ หากผมมีโอกาส ผมจะมาแชร์กรณีตัวอย่างและการแก้ปัญหา Toxic working environment และการแก้ Toxic boss ให้ได้อ่านกันครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

หากต้องการอ่านคำตอบทั้งหมด
กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
(ใช้เวลาไม่นานในการสมัคร)

อันดับผู้ให้ข้อมูล