คนทำงานยุคใหม่คาดหวังอะไรกับการทำงานกับนายจ้างกันบ้าง

orderlethargic
orderlethargic
10 มีนาคม 2021 13:44 น.
ในรอบสิบปีที่ผ่านมา ที่บริษัทมีเด็กรุ่นใหม่เข้ามาทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ บรรยากาศในการทำงานถือว่าเปลี่ยนไปพอสมควร เลยอยากรู้เพื่ออาจจะเอาไปวางแผนเพื่อปรับเปลี่ยนนโยบายบางอย่างให้มัน Flexible และตรงใจพนักงานมากยิ่งขึ้นค่ะ

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

1 คำตอบ

  • ณัฏฐวัฒน์ วัฒนธเนศ
    ณัฏฐวัฒน์ วัฒนธเนศ
    12 มีนาคม 2021 17:22 น.
    ขออ้างอิงจากข้อมูลของ Gallup บริษัท Human Resouce Consulting ระดับโลกได้ลำดับความสำคัญของสิ่งที่ Talents ในยุค Millenials เนี่ย ให้ความสำคัญในเรื่องของการทำงาน และมองหาบริษัทที่สามารถ offer สิ่งเหล่านี้ให้ได้ นี่อาจจะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการเข้าใจวิธีคิดของคนยุคนี้เลยนะครับ ลิสต์ออกมาจะได้ดังนี้ครับ


    •        ทำงานตาม Purpose หรือ จุดประสงค์ 
    โดยงานที่ Talents ได้รับมอบหมายนั้นต้องสร้างคุณค่าและมี Impact ต่อตัวเองและองค์กร โดยบริษัทที่คนเก่งๆมองหานั้นจะต้องขับเคลื่อนด้วย Mission และ Purpose ที่แข็งแรงและชัดเจน

    •        การพัฒนา 
    การจ้างงาน Talents ในยุค Millenials พวกเขาไม่ได้ตัดสินแค่การที่บริษัทมีโต๊ะปิงปองหรือมีเครื่องครัวครบครันในออฟฟิศอีกต่อไป พวกเขามองหางานที่เขาสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ไม่ใช่แค่ได้รับสิทธิพิเศษ การได้รับตำแหน่ง หรือแค่การที่หัวหน้าเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่พวกเขาในที่ทำงาน

    •        หัวหน้าที่เป็นโค้ช ไม่ใช่คนสั่งงาน
    คนเก่งในยุค Millenials และ Gen Z ต้องการผู้นำที่จะเป็นโค้ชให้พวกเขา ไม่ใช่แค่คนสั่งงาน ต้องการผู้นำที่สร้างคุณค่าพวกเขาได้ และสามารถพัฒนาจุดแข็งของพวกเขาให้แข็งแรงได้ยิ่งขึ้น

    •        บริษัทและหัวหน้าที่สื่อสารตลอดเวลาได้อย่างชัดเจน
    การพูดคุย สื่อสาร และการให้ Feedback ที่บ่อย และตรงไปตรงมา ชัดเจน เป็นสิ่งที่คนยุคนี้ต้องการมากกว่าการทำ Annual Review ซึ่งมันเกิดขึ้นแค่ปีละครั้งเดียว และหลายๆครั้งก็เต็๋มไปด้วยอคติและความไม่ตรงไปตรงมา ซึ่งนั่นไม่ได้ช่วยอะไรพวกเขาเลย

    •        หัวหน้าที่สามารถพัฒนาจุดแข็ง ไม่ใช่แค่ซ้ำเติมจุดอ่อน
    จาก Research ที่ชื่อว่า “Employee Engagement, Satisfaction, and Business-Unit-Level Outcomes: A Meta-Analysis” ที่จัดทำโดย Gallup และ University of Iowa กล่าวว่า การพัฒนาจุดแข็งให้แข็งแรงมากขึ้นนั้นให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการพยายามปรับปรุงจุดด้อย และสำหรับองค์กรที่มีวัฒนธรรม Strength-based นั้น สามารถช่วยดึงดูดและรักษาสมาชิกทีมและพนักงานดาวรุ่งได้อีกด้วย 

    •        “นี่คืองานของเขา แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิตพวกเขา”
    คนในยุคนี้มองหาวัฒนธรรมการทำงานที่ไม่ได้กำหนดเวลาทำงานแบบ 9 โมงเช้า ถึง 6 โมงเย็น พวกเขาต้องการทำงานที่สร้างคุณค่าให้กับตนเอง และสร้างประโยชน์ให้กับบริษัท และยังมองหางานที่ยังให้พวกเขานั้นมีเวลาทำสิ่งที่พวกเขาชอบได้ทุกวัน ซึ่งหมดยุคการทำงานตั้งแต่ตอนสายและลากยาวไปจนถึงเที่ยงคืน หรือการนัดประชุมยาวๆ ตอนสี่ทุ่ม

    หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถวางแผนเรื่อง Talent ได่ดีขึ้นนะครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล