- พนักงาน (Officer)
- ทรัพยากรมนุษย์/บุคคล
- เทคโนโลยี/ไอที
- 51~100 คน
อยากทราบว่า เราควร setup ระบบ HR อย่างไร กับการร่วมงานกับบริษัท สตาร์ทอัพที่เปิดใหม่ดีค่ะ
ดิฉัน กำลังจะเข้าร่วมงานกับบริษัท สตาร์ทอัพแห่งหนึ่ง ซึ่งตัวดิฉันเองไม่เคยมีประสบการณ์ทางด้านบริหารงานบุคคลมาก่อน อยากทราบว่าเราจะมีวิธีการ หรือเราจะเริ่มต้นอย่างไรดีกับการบริหารงานและเริ่มวางระบบงาน ในฝ่าย HR อย่างไรดีเพื่อให้งาน ที่ได้รับมอบหมายมาประสบความสำเร็จและตอบโจทย์การบริหารให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์กรตั้งไว้ให้ได้มากที่สุด
3 คำตอบ
- Poonnie HR10 พฤษภาคม 2021 18:58 น.เป็นอย่างไรบ้างครับ ติดขัดอะไรเพิ่มเติมตั้งเป็นกระทู้ไว้นะครับ อาจมีแบ่งปันประสบการณ์ได้ครับ ผมเองก็ทิ้งเรือลำใหญ่มาอยู่พัฒนาระบบ HR ให้เรือลำเล็กที่เป็น Start up เหมือนกัน น่าจะแชร์ประสบการณ์กันได้ดีเลยครับ0ขอบคุณสำหรับข้อมูลTouchwich Chaitaweesak27 เมษายน 2021 18:54 น.สวัสดีครับ ขอแบ่งปันวิธีการเผื่อลองประยุกต์ใช้ตามความต้องการของนายจ้าง , องค์กร , และวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งหากเราต้องเริ่มต้นในธุรกิจที่เปิดใหม่ , หรือเราเองเพิ่งเริ่มต้นสายงาน HR "ทุกคนจะมีคำถามเหมือนกันว่า ฉันควรเริ่มต้นจากอะไรก่อน-หลังดี" ขอสรุปภาพรวมสิ่งที่ควรทำลำดับแรกๆไว้ดังนี้
หมวดที่ 1. เริ่มต้นจากทำในสิ่งที่กฏหมายต้องการจากบริษัทฯ,หรือองค์กร เป็นลำดับแรก
"จากประสบการณ์ผม ที่ทำ HR สายการผลิตสินค้าประเภทอาหาร เราพบว่ากฏระเบียบ,ข้อบังคับหลายอย่างถูกกำหนดขึ้นจากกฏหมายในประเทศ และกฏหมาย(อาหาร)ในต่างประเทศ ที่กำหนดผ่านรูปแบบระบบต่างๆเช่น ISO , GMP เป็นต้น"
ตัวอย่างที่ควร Focus
1.1 สำรวจบริษัทฯเราก่อนว่า มีพนักงานกี่คน
เหตุผล : เพื่อจะได้ดูในข้อถัดๆไป จะเข้าข่ายกฏหมาย , พรบ. ฯลฯ ในเรื่องใดบ้าง เรื่องที่เห็นได้ชัด เช่น
1.1.1 จำนวนพนักงานส่งผลต่อคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ (พรบ.แรงงานสัมพันธ์) link : https://www.labour.go.th/index.php/labor-law/category/4-laws-labor-2
1.1.2 จำนวนพนักงานส่งผลต่อการฝึกอบรม (พรบ.พัฒนาฝีมือแรงงาน) https://www.mol.go.th/employer/act_skill_development/
1.1.3 จำนวนพนักงานส่งผลต่อเรื่องการจ้างงานคนพิการ (พรบ.พัฒนาคุณภาพชีวิต)
** ยังมีกฏหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆอีก ขอยกตัวอย่างที่มีผลในแง่ค่าปรับ , หรือบทลงโทษตามกฏหมาย หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามให้พอเข้าใจก่อน
1.2 จัดทำหรือทำให้มีข้อบังคับในการทำงาน ที่กำหนดข้อความให้ครบ 7 ข้อหลัก ตามกฏหมายกำหนด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ link : https://www.labour.go.th/index.php/hm7/54-2011-06-02-03-40-40
1.3 ศึกษาขั้นตอน,และกำหนดรูปแบบการจ้างงาน , การจ่ายเงินเดือน . การตัดรอบเงินเดือน , การแจ้งเข้า-ออกประกันสังคม และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ พรบ.ประกันสังคม (https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/7d900b368467d904cf25f13b46f20e21.pdf)
หมวดที่ 2 เริ่มกำหนดขั้นตอนที่สอดคล้องกับข้อบังคับในการทำงาน เช่น
2.1 กำหนดปฏิทินวันหยุดประจำปี
2.2 กำหนดวันทำงานปกติ เช่น วันจันทร์ - วันศุกร์ กี่โมงเป็นต้น รวมถึงเวลาพัก (อ่านเพิ่มเติมใน link ข้อที่ 1.2)
2.3 กำหนดขั้นตอนและแบบฟอร์มในการขอลางานประเภทต่างๆ (มีตัวอย่างใน internet มากมายสามารถเลือกมาปรับใช้ได้)
2.4 กำหนดขั้นตอนและแบบฟอร์มการขอทำล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด
2.5 กำหนดขั้นตอน , วิธีการ รวมถึงจัดหาอุปกรณ์เพื่อลงเวลาทำงาน (Time) และรูปแบบวิธีการจ่ายค่าจ้าง
2.6 กำหนด,หารือ,กับนายจ้าง ถึงสวัสดิการที่จะจัดให้พนักงาน (ขั้นต่ำตามกฏหมาย) และที่นอกเหนือจากกฏหมายว่าจะให้มีอะไรบ้าง เพื่อเป็นการดึงดูด และเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน รวมถึง HR เองด้วยเพราะเราก็คือพนักงานคนหนึ่ง
แนะนำเพิ่มเติม : โดยปกติแล้วการปฐมนิเทศที่เป็นขั้นตอนพื้นฐานงาน HR ไว้ใช้กับพนักงานเข้าใหม่ ก็จะถูกสร้างด้วยโครงเรื่องจากข้อที่ 2 และเพิ่มเติมข้อความหรือเนื้อหาที่เหมาะสมกับธุรกิจ หรือความคาดหวังของนายจ้าง เช่น เพิ่มวิสัยทัศน์,พันธกิจ รวมถึงเป้าหมายยอดขาย ฯลฯ
หมวดที่ 3 ใช้ - ทดลองใช้ - ปรับปรุงให้ดีขึ้น
"เมื่อมาถึงข้อนี้แล้ว ขอให้ทำความเข้าใจสายอาชีพ HR คือสื่อกลางระหว่างนายจ้าง - ลูกจ้าง ดังนั้นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจก่อนคือ เราจะเป็นด่านแรกที่รับข้อร้องเรียนจากพนักงาน , รวมถึงรับความคาดหวัง(แรงกดดัน)จากนายจ้าง เราจึงจะต้องช่วย 2 ฝ่ายหาทางออกร่วมกันให้นุ่มนวล ด้วย concept "ถูกกฏหมาย , ไม่ผิดใจนายจ้าง , ไม่ผิดใจพนักงาน"
ขออภัยหากการตอบจะยาวพอสมควร เพราะงาน HR มีรายละเอียดมากและแตกต่างตามบริษัทฯและรูปแบบธุรกิจ ขอเป็นหนึ่งในการช่วยแชร์ แบ่งปันความคิดเห็นด้วยนะครับ
จาก HR บริษัทฯผลิตอาหารแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร (^_^)1ขอบคุณสำหรับข้อมูล- Siriwan28 เมษายน 2021 10:28 น.ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำดีๆ ในครั้งนี้ด้วยนะคะ
หากต้องการอ่านคำตอบทั้งหมด
กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
(ใช้เวลาไม่นานในการสมัคร)มีบัญชีอยู่แล้ว?เข้าสู่ระบบ
คุณเห็นด้วยกับนโยบายความเป็นส่วนตัว
และได้ศึกษาข้อตกลงในการใช้งานของ HR NOTE ก่อนเข้าใช้ระบบสมาชิก
มีบัญชีอยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบ