เราทำ KPI กันไปเพื่ออะไร (มันสำคัญมากแค่ไหนในการทำงาน)

อยากทราบประโยชน์ของ KPI และอยากรู้ว่าการทำ KPI ที่ดีจะต้องเป็นอย่างไร จะกำหนดตัวชี้วัดหลักได้อย่างไร 

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

1 คำตอบ

  • Napat Sanguankaew
    Napat Sanguankaew
    22 มีนาคม 2021 15:39 น.
    ผมขออนุญาตตอบไปทีละหัวข้อนะครับ

    #ความหมายของ KPI คืออะไร ?
    KPI เป็นตัวย่อมาจากคำว่า Key Performance Indicator ซึ่งก็แปลได้ว่า “ดัชนีชี้วัดควาสำเร็จ” เป็นตัววัดคุณค่าที่ประเมินผลออกมาเป็นตัวเลข/จำนวน/ปริมาณได้ชัดเจนและแสดงให้เห็นว่าบริษัทหรือพนักงานนั้นมีศักยภาพเพียงไร หรือประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่

    K > Key : หัวใจหลัก, เป้าหมายหลัก, กุญแจสำคัญของความสำเร็จ
    P > Performance : ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล, ความสามรถในการทำงาน
    I > Indicator : ดัชนีชี้วัด, ตัวชี้วัด


    #KPI ที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นอย่างไร ?
    • S : Specific – เฉพาะเจาะจง
    ตัวอย่าง : เพิ่มลูกค้าที่เป็นชาวต่างชาติในไทยให้ได้ 30% ภายในระยะเวลา 1 ปี

    • M : Measurable – สามารถวัดได้
    ตัวอย่าง : การวัด KPI จากยอดขายสินค้าของแต่ละคนภายในปีนี้

    • A : Achievable – บรรลุผลได้
    เป้าหมายที่ตั้งจะต้องสามารถบรรลุผลได้จริง ไม่ตั้งจนเกินพอดี ไม่สมเหตุสมผล หรือไม่มีทางเป็นไปได้ ขณะเดียวกันก็ไม่ตั้งจนง่ายเกินไป อาจทำให้การวัดผลนั้นไร้ประโยชน์

    ตัวอย่างที่สามารถบรรลุผลได้ : เพิ่มผลกำไรจากกลุ่มลูกค้าใหม่ให้ได้ 30% ภายในระยะเวลา 1 ปี
    ตัวอย่างที่สามารถบรรลุผลได้ยากจนเกินไป : หาลูกค้าเซนต์สัญญากับบริษัทให้ได้ 1 ล้านคน ภายใน 3 เดือน (ต้องเปรียบเทียบกับขนาดธุรกิจของบริษัทด้วย)
    ตัวอย่างที่สามารถบรรลุผลได้ง่ายจนเกินไป : เพิ่มผลกำไรให้ได้ 5% ภายในระยะเวลา 1 ปี


    • R : Realistic – สมเหตุสมผล สอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง
    ตัวอย่างที่สมเหตุสมผลสอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง : ลดอัตราการขาดทุนต่ำลงจากปีที่แล้ว 10% ในภาวะเศรษฐกิจที่กำลังถดถอย
    ตัวอย่างที่ไม่สมเหตุสมผลและไม่สอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง : เพิ่มกำไรให้ได้ 70% จากปีที่แล้ว ภายใน 1 ปี ในขณะที่บริษัทมีแนวโน้มกำไรลดลงเรื่อยๆ ทุกปี

    • T : Timely – กำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน
    ตัวอย่าง : เพิ่มยอดขายให้ได้ 30% จากปีที่แล้ว ภายในระยะเวลา 1 ปี


    #วิธีการกำหนดตัวชี้วัดหลักใน KPI (ข้อนี้ถือว่าตอบคำถามหลักที่คำถามระบุไว้เลยนะครับ)
    ตัวชี้วัดที่ดีต้องสร้างแรงจูงใจให้อยากบรรลุเป้าหมาย : ตัวชี้วัดที่ดีนั้นไม่ควรยากหรือง่ายจนเกินไป และต้องควรคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายให้ได้ด้วย เพราะเป้าหมายที่ดูพิชิตได้นั้นจะทำให้เกิดแรงจูงใจที่ดีในการบรรลุเป้าหมาย ไม่ท้อแท้ เบื่อหน่าย กังวล หรือเกิดความเครียดที่จะทำให้บรรลุ ขณะเดียวกันการกำหนดตัวชี้วัดที่มีมาตรฐานสูงจนเกินไป ก็อาจทำให้เกิดผลเสียในทางตรงกันข้าม และไม่มีแรงจูงใจที่ดีที่จะทำให้ทุกคนร่วมมือกันทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย

    #ประโยชน์ของ KPI (สรุปประโยชน์มาให้เน้นๆ เพื่อเอาไปทำงานต่อได้)
    1. ประเมินผลและชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลแต่ละตำแหน่ง ว่าสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้หรือไม่ หรือควรปรับปรุงอะไร
    2. ชี้วัดความสำเร็จขององค์กรว่าสามารถบรรลุเป้าหมายที่องค์กรวางไว้ได้หรือไม่
    3. ใช้ประเมินผลที่มีประโยชน์ต่อการพิจารณาเพิ่มอัตราจ้างหรือโบนัสประจำปี
    4. วัดผลเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่องแล้วแก้ไข
    5. นำผลมาใช้ในการวางแผนงานตลอดจนแผนการลงทุน ไปจนถึงประเมินงบประมาณในปีหน้าได้
    6. ใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาในการตั้ง KPI ในปีถัดไป

    Ref.https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190402-kpi/
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล